นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์โลกในเวลานี้มีความเสี่ยงสูงขึ้น จากการประชุมของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประเมินเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวตัวและไม่ทั่วถึง โดยไอเอ็มเอฟมองเศรษฐกิจขยายตัว 3% ต่ำสุดในรอบ 30 ปี ซึ่งการเติบโตไม่สวยนัก ที่สำคัญมีความเสี่ยงเกิดขึ้นมาก และในเวทีโลกต่างๆ ได้ติดตามเศรษฐกิจจีนที่เติบโตช้า และภาคอสังหาฯ จากจีนมีความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงใหม่อย่างซัพพลายเชน ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่จะกระทบการค้าโลกอย่างไร
ทั้งนี้ มีความเป็นห่วงปัญหาประเทศตะวันออกกลาง ยอมรับว่าเป็นอะไรที่ประเมินผลกระทบความเสี่ยงยาก เพราะมีผลข้างเคียงที่ยังประเมินผลไม่ได้ เหมือนตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสหรัฐ เหตุการณ์ 911 ที่ตอนนั้นได้ประเมินว่าจะกระทบกับการท่องเที่ยวของสหรัฐ การบิน การลงทุน แต่สุดท้ายเหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่ความรุนแรงการบุกไปอิรัก นำไปสู่สารพัดเหตุการณ์ต่อมา โดยตอนนี้เหตุการณ์ตะวันออกกลาง ยังประเมินผลกระทบไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่แค่การค้า หรือการส่งออกที่ไปอิสราเอล
ด้านเวทีโลกเน้นเสถียรภาพเป็นหลัก คำแนะนำจากไอเอ็มเอฟ คืออย่างแรกต้องเอาเงินเฟ้อกลับสู่กรอบให้ได้ สะท้อนถ้าตะวันออกกลางมีปัญหา กระทบราคาน้ำมันผันผวน กังวลเงินเฟ้อพลิกกลับมาได้ และต่อมาคือ ภาระการคลัง พยายามสร้างกันชนด้านการคลัง ลดรายจ่าย หารายได้ ลดขาดดุลน้อยลง ให้หนี้สาธารณะลดลง และเตรียมรับมือผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ ในอนาคต ส่วนเรื่องต่อมาให้ความสำคัญเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ในด้านต่างประเทศห่วงภาคอสังหาฯ กลุ่มธนาคาร และนอนแบงก์ แต่ประเทศไทย ในภาคอสังหาฯ ไม่น่าเป็นห่วง และสุดท้ายควรใส่ใจปัญหาเชิงโครงสร้าง ดิจิทัล ด้านกรีนสีเขียวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า เสถียรภาพโดยรวมของไทยดีแต่ชะล่าใจไม่ได้ ดูจากเสถียรภาพต่างประเทศดี มีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล หนี้ต่างประเทศไม่เยอะ ทุนสำรองระหว่างประเทศมีเพียงพอ ฐานะการเงินสถาบันการเงินแข็งแกร่ง แต่หนี้ครัวเรือนสูง 90.7% ต่อจีดีพี แม้ลดลงจาก 94% ก่อนหน้านี้แต่ก็ยังสูงเกินไป และหนี้สาธารณะ 61.7% สูงสุดเท่าที่เคยมีในประวัติการณ์ ซึ่งช่วงวิกฤติปี 40 ระดับหนี้ไปถึง 60% ของจีดีพี เทียบก่อนโควิดที่มีกว่า 40%
นอกจากนี้ สิ่งที่ชะล่าใจไม่ได้คือเงินทุนเคลื่อนย้ายที่นับจากต้นปีจนถึงปัจจุบันมีเงินไหลออก 8,400 ล้านดอลลาร์ ไหลออกทั้งตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้น สวนทางกับประเทศอื่นที่ปีนี้มีเงินไหลเข้าอย่างเกาหลีใต้ มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย สะท้อนว่ามีความกังวล โดยเงินไหลออกระดับ 8,400 ล้านดอลลาร์สูงเมื่อเทียบในอดีต สูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จากในอดีตที่เคยไหลออก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ และปัจจุบันเจอความผันวผนค่าเงิน 8-9% รองจากเกาหลีใต้ ผันผวนสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และสูงเทียบในอดีต
“เสถียรภาพโอเค แต่ชะล่าใจไม่ได้เริ่มมีสัญญาณจากการส่งสัญญาณของตลาด และเครดิตเรตติ้งหลายแห่งบอก กังวลถ้าเสื่อมลงจะปรับลดเรตติ้งลง คล้ายกับของไอเอ็มเอฟ อยากเห็นการขาดดุลการคลังลดลง เรื่องเสถียรภาพมองระยะปานกลางมากขึ้น เป้าหมายหลักคือเศรษฐกิจฟื้นจากวิกฤติ ทำอย่างไรให้ยืดหยุ่นและฟื้นกลับมา มีความทนทานกับผลกระทบต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนปรับตัวได้ยืดหยุ่น”
ทั้งนี้ในเรื่องความทนทานมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ 1.เป็นเรื่องเสถียรภาพระดับมหภาค เงินเฟ้ออยู่ในกรอบ เศรษฐกิจเติบโตเหมาะสม ไม่มีความเปราะบางด้านการเงิน 2.เป็นเรื่องมีภูมิ ต้องมีกันชนช่วยให้ทนทานต่อผลกระทบที่ตามมา มีลูกกระสุน มีพื้นที่ทำนโยบาย มีเครื่องมือด้านนโยบายที่สามารถดำเนินการได้ และที่สำคัญคือต้องมีทางเลือกอื่นรองรับ และ 3. มีโอกาสใหม่ๆ และต้องเห็นระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินใหม่ๆเกิดขึ้น สร้างการเติบโต เพราะที่ผ่านมาพึ่งช่องทางเดิม ที่สำคัญเกาะกระแสใหม่ เช่น ดิจิทัล เศรษฐกิจยั่งยืน เป็นต้น
“ทั้ง 3 องค์ประกอบทั้งหมดเป็นเรื่องที่ต้องเอื้อให้เศรษฐกิจทนต่อความทนทาน โดยธปท.ต้องปรับในแต่ละเรื่องความหมายเน้นในมิตินโยบายการเงิน สิ่งที่จากเดิม สมูธเทคออฟ ฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเรื่องแลนดิ้งให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับเหมาะสมกับความสมดุลระยะปานกลาง ดอกเบี้ยให้อยู่ในโหมดทนทานต่อผลกระทบ และเมื่อเกิดผลกระทบฝั่งสถาบันการเงินก็ต้องเน้นพยุงประคับประคอง ซึ่งตอนนี้ต้องเน้นไประยะยาวต้องทำให้หนี้จบ เป็นการแก้ปัญหาหนี้ เช่น การดูแลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ การคิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยง ดูแลเรื่องภาระหนี้ต่อรายได้ หรือดีเอสอาร์”
นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า การทำนโยบายการเงิน ดอกเบี้ย ไม่ต้องการให้สร้างความไม่แน่นอนให้ตลาด เห็นจากต่างประเทศจะหยุดไม่หยุดยังมีความไม่แน่นอน โดยมองว่าถ้าปล่อยเงินเฟ้อขึ้น ผลกระทบภาระคนจะกระทบเยอะกว่าภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น จึงต้องพยายามดูแลเงินเฟ้อ แม้เกิดผลข้างเคียงต่างๆจึงต้องมีมาตรการช่วยเหลือต่อไป