จากกรณี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มี มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 106/2567 เรื่อง ให้ข้าราชการ มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 20 มี.ค. 2567 ซึ่งเป็นการสั่งให้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุวิมลผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้ามาช่วยที่สำนักนายกรัฐมนตรีนั้น
ล่าสุดได้ลงนามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 109/2567 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีเป็นข่าวสาธารณะเกี่ยวกับความขัดแย้งในเรื่องคดีของบุคคลใน ตร.
โดยกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนอย่างกว้างขวาง และมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่จะต้องรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนความมั่นคงของราชอาณาจักรตามหน้าที่และอำนาจที่รัฐธรรมนูญกฎหมายกำหนดไว้ การที่ปรากฎเป็นข่าวต่อสาธารณะต่อเนื่องติดต่อกัน มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย และมีการดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งกันและกัน จนเป็นที่ประจักษ์ทั้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติแลประชาชนทั่วไป จนกระทบต่อการบริหารงานบุคคล และงานด้านกระบวนการยุติธรรม ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน และอาจทำให้ประโยชน์ของทางราชการเสียหาย
จึงเป็นเหตุสมควรที่สาธารณชนจะได้มีโอกาสทราบข้อมูล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ถูกต้อง ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย อีกทั้งเพื่อเป็นการป้องกันมีให้มีผู้หนึ่งผู้ใดในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แทรกแซงคดีที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมและให้การใช้อำนาจภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นไปตามหลักนิติธรรม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(6) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีปรากฏเป็นข่าวต่อ สาธารณะเกี่ยวกับความขัดแย้งในเรื่องคดีของบุคลากรภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย 1. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการ 2คำพูดจาก สล็อตวอเลท. นายชาติพงษ์ จีระพันธุ อดีตรองอัยการสูงสุด กรรมการ 3. พล.ต.อ.วินัย ทองสอง อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจเเห่งชาติ กรรมการ และเลขานุการ
ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ 2. คณะกรรมการตามข้อ 1 มีหน้าที่และอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีปรากฎเป็นข่าวต่อสาธารณะเกี่ยวกับความขัดแย้งในเรื่องคดีของบุคลากรภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วรายงานนายกรัฐมนตรีภายใน 60 วัน ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวต้องไม่ก้าวล่วงหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวในกรณีที่จำเป็น นายกรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาตามวรรคหนึ่งออกไปอีกได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการรายงานความคืบหน้าต่อนายกรัฐมนตรีเป็นระยะทุก 15 วัน
ข้อ 3. เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามคำสั่งนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเชิญ หรือ ประสานขอความร่วมมือ หรือขอเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลภายนอก เพื่อตรวจสอบ สอบถาม หรือขอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาได้ และให้เจ้าหน้าที่หรือ หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่ได้รับเชิญหรือขอความร่วมมือ ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการโดยถือเป็นลำดับความสำคัญเร่งด่วนที่สุด
และข้อ 4. ให้คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการได้รับเบี้ยประชุมตามที่กระทรวงการคลังกำหนด คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะทำงานเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อพิจารณาศึกษาหรือปฏิบัติการ อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้ โดยให้คณะทำงานได้รับค่าตอบแทนตามที่กระทรวงการคลังกำหนดเบี้ยประชุมตามวรรคหนึ่งและคำตอบแทนตามรรคสองให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ประกาศฉบับที่ 7 รับมือ “พายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง”
วิเคราะห์ฟุตบอลโลก 2026 เกาหลีใต้ พบ ทีมชาติไทย 21 มี.ค.67
ด่วน! ศาลสั่งจำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา "ครูปรีชา" คดีฟ้องเท็จ