กองทัพเกาหลีใต้ส่อเผชิญกำลังพลร่อยหรอ หลังประชากรเกิดน้อย

เกาหลีใต้ กำลังเฝ้าระวังภัยคุกคามทางนิวเคลียร์ และขีปนาวุธของเกาหลีเหนืออยู่ต่อเนื่อง โดยล่าสุดจนถึงตอนนี้เกาหลีใต้ยังคงมีกำลังประจำการอยู่ประมาณ 500,000 นาย และเพื่อรักษาระดับกำลังพล ณ ปัจจุบัน เท่ากับว่า กองทัพเกาหลีใต้จำเป็นต้องเกณฑ์ทหาร 200,000 นายต่อปี

แต่ด้วยอัตราการเกิดของเด็กทารกที่ลดลงเหลือเพียง 0.78 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน อาจสร้างปัญหาต่อกำลังพลของเกาหลีใต้ในอีกไม่ช้า

ยูเครนส่งโดรนโจมตีคลังน้ำมันรัสเซีย เกิดเพลิงไหม้รุนแรง

เกาหลีใต้เผย ชาวเกาหลีเหนือแปรพักตร์เพิ่มขึ้น 3 เท่าในปี 2023

เกาหลีเหนือทดสอบระบบอาวุธนิวเคลียร์ใต้น้ำ ตอบโต้การซ้อมรบร่วม

ในปี 2022 มีทารกในเกาหลีใต้เกิดใหม่น้อยกว่า 250,000 คน หากแบ่งในจำนวนเป็นทารกชาย 50 % หญิง 50 % นั่นหมายความว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อเด็กทารกเหล่านี้มีอายุถึงเกณฑ์เข้าร่วมกองทัพ จะมีผู้ชายเพียง 125,000 คนเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอกับตัวเลขของทหารที่ต้องเข้าเติมในกองทัพ 200,000 นาย

ส่วนผู้หญิงในเกาหลีใต้ไม่ได้ถูกเกณฑ์เข้าไปเป็นทหาร และจากตัวเลขของกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ ระบุว่า มีผู้หญิงเข้าร่วมกองทัพเป็นอาสาสมัครคิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 3.6 % ของกองทัพเกาหลี ณ ปัจจุบัน

ขณะเดียวกันมีการคาดการณ์ว่า จำนวนทารกแรกเกิดต่อปีในเกาหลีใต้จะลดลงอีกเหลือ 220,000 คนในปี 2025 และเหลือ 160,000 คนในปี 2072

ศาสตราจารย์ชเว บยองอุก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงจากมหาวิทยาลัยซางมยอง ชี้ว่า อัตราการเกิดของเกาหลีใต้ ณ ปัจจุบัน อาจทำให้เกาหลีใต้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องลดกำลังทหารลง

แม้อัตราการเกิดของทารกในเกาหลีใต้จะกลายเป็นพาดหัวข้อใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็เห็นแนวโน้มของกองทัพเกาหลีที่เตรียมรับมือกับสิ่งนี้อย่างต่อเนื่อง

โดยกองทัพเกาหลีใต้บรรลุเป้าหมายนั้น โดยลดขนาดกองทหารลง 27.6 % ในเวลา 2 ทศวรรษ ตั้งแต่ปี 2002 ถึง 2022

ขณะช่วงทศวรรษ 2000 รัฐบาลเกาหลีใต้ตัดสินใจโดยสมัครใจที่จะลดจำนวนทหารประจำการลง จาก 674,000 นาย ในปี 2006 เหลือ 500,000 นายในปี 2020 โดยให้เหตุผลว่า ภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือค่อยๆลดน้อยลง และส่งเสริมกองกำลังทหารที่มีขนาดเล็กลง แต่มีฝีมือชั้นยอดมากขึ้น

อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า ภัยคุกคามของเกาหลีเหนือไม่ได้ลดลงตามที่กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้คาดการณ์ไว้

นับตั้งแต่คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือขึ้นครองอำนาจในปี 2011 เขาได้สงบลงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ขณะที่กำลังเจรจากับเกาหลีใต้ และสหรัฐฯ เพื่อลดความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี แต่ความสงบได้หายไป ส่วนคาบสมุทรเกาหลีเกิดสั่นคลอน จากการสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ครั้งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ

หลังจากเกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา คิม จองอึนได้เตือนว่า เกาหลีเหนือจะไม่ลังเลที่จะดำเนินการตอบโต้การโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ หากศัตรูยั่วยุ

ซึ่งนี่หมายความว่า หากคิม จองอึน ตัดสินใจก้าวข้ามเส้นขนานที่ 38 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งแยกเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ หลังจากการลงนามสงบศึกในปี 1953 กองทัพเกาหลีใต้นี่แหล่ะที่ต้องแบกรับภาระการป้องกันประเทศที่ใหญ่ที่สุด

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เกาหลีใต้ต้องพิจารณาใช้วิทยาศาสตร์เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ และเปลี่ยนวิกฤตกำลังพลให้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

พลโท ชุน อินบุม อดีตนายทหารกองทัพเกาหลีใต้ระบุว่า หน่วยงานด้านกลาโหมของเกาหลีใต้มีนโยบายมานานว่า จะเปลี่ยนจากกองทัพที่เน้นกำลังพลเป็นหลัก มาเป็นกองทัพที่มุ่งเน้นเทคโนโลยี

โดยในปี 2005 กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ออกแผนพัฒนากองทัพให้เป็นกองกำลังที่เน้นวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้ได้ภายในปี 2020 แต่ว่า แผนนี้ก็คืบหน้าไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และแม้ว่ากองทัพเกาหลีใต้พยายามเปลี่ยนแปลง แต่ก็ไม่ได้เป็นความเร่งด่วน เพราะทหารเกณฑ์ของเกาหลีใต้ยังมีมากพอ

แต่สงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครนได้แสดงให้โลกเห็นว่า ในสนามรบสมัยใหม่ จำนวนทหารที่แท้จริงยังไม่เพียงพอ

จากการประเมินของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า ทหาร ที่ประกอบไปด้วยกองกำลังภาคพื้นดินก่อนการรุกรานของรัสเซีย รวมถึงเจ้าหน้าที่สัญญาจ้างและทหารเกณฑ์ 360,000 นาย รัสเซียได้สูญเสียทหารไป 315,000 นายในสนามรบ

ขณะที่การใช้โดรน และอาวุธสุดไฮเทคของยูเครนที่จัดหาให้โดยชาติพันธมิตรตะวันตก ได้ส่งผลกระทบต่อกำลังพลของรัสเซียมากขึ้น

ทั้งนี้เกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ากับเข้าหน่วยรบของตนเอง

โดยเมื่อปีที่แล้ว กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ ระบุว่า จะดำเนินการเปลี่ยนผ่านเป็นระยะๆ ไปสู่ระบบการต่อสู้แบบทีมไร้คนขับที่ใช้เทคโนโลยี AI และแนะนำกองทัพ TIGER brigade ซึ่งเป็นกองทัพหน่วยรบในอนาคต ซึ่งใช้ทั้งกำลังพล และอุปกรณ์ไร้คนขับเพื่อปฏิบัติภารกิจนี้

นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังได้พัฒนาอุปกรณ์ทางหทารไร้คนขับ ซึ่งรวมถึงยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับระดับความสูงปานกลาง และยานพาหนะใต้น้ำไร้คนขับด้วย

แต่พลโท ชุน อินบุม อดีตนายทหารกองทัพเกาหลีใต้ชี้ว่า เทคโนโลยีไม่ให้ยาครอบจักรวาล อย่างการเข้ายึดดินแดนยังต้องใช้กำลังพลในการเข้ายึด และต้องใช้บุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และมีการศึกษามากพอทที่จะดำเนินการ และดูแลระบบ AI ในสนามรบ

อดีตนายทหารกองทัพเกาหลีใต้ชี้เทคโนโลยีจะช่วยได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาขาดแคลนกำลังพลได้ไม่ว่าเกาหลีใต้จะพยายามอย่างไรก็ตาม พร้อมแนะว่า เกาหลีใต้จำเป็นต้องปรับปรุงระบบระดมกำลังพลของตัวเอง เพื่อให้สามารถเข้าถึงประชากรที่เป็นพลทหารสำรองให้ได้จำนวนมากที่สุดเท่าที่ทำได้

โดยหลังจากชายชาวเกาหลีใต้เสร็จสิ้นการเกณฑ์ทหารเป็นเวลา 18-21 เดือน พวกเขาจะกลายเป็นทหารสำรอง 8 ปี และในระหว่างนี้จะมีการเรียกชายเหล่านี้เข้าหน่วยที่ได้นับมอบหมายปีละครั้ง เพื่อเตือนถึงตำแหน่ง และหน้าที่ของตนเอง และหลังจากนั่นจะเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อป้องกันภภัยจากฝ่ายพลเรือนทุกปีจนถึงอายุ 40

อย่างไรก็ตามปัญหาหนึ่งของแผนนี้คือการสรรหาบุคลากรเข้าร่วมกองทัพ

 กองทัพเกาหลีใต้ส่อเผชิญกำลังพลร่อยหรอ หลังประชากรเกิดน้อย

ตามข้อมูลของกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ระบุว่า จำนวนผู้สมัครตำแหน่งนายทหารชั้นสัญญาบัตรลดลงในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา จากประมาณ 30,000 คนในปี 2018 เหลือ 19,000 คนในปี 2022

นี่แสดงให้เห็นว่ากองทัพเกาหลีใต้กำลังประสบปัญหาอย่างมากในการรักษาผู้ปฏิบัติงานมืออาชีพระดับเริ่มต้นที่มีความโดดเด่นในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า

โดยเหตุผลหลักที่คนเข้าร่วมสมัครน้อยลงเป็นเพราะผลตอบแทนด้านการเงิน และสังคมที่ไม่เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงานเหล่านี้คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

แล้วการหันไปหาผู้หญิงเข้าร่วมเกณฑ์ทหารทำได้หรือไม่

Jewish Women’s Archive รายงานว่า อย่างในอิสราเอลมีการเกณฑ์ทหาร และ40 % ของกำลังทหารเกณฑ์เป็นผู้หญิง ส่วนในกองทัพอาสาสมัครทั้งสหรัฐฯ และแคนาดา มากกว่า 16 % ของกองทัพก็เป็นผู้หญิงเช่นเดียวกัน

แต่ศาสตราจารย์ชเวชี้ว่า ผู้หญิงสามารถแก้ปัญหาในกองทัพเกาหลีใต้ได้ แต่ก็มีอุปสรรคมากเกินไปในสังคมปิตาธิปไตยตามธรรมเนียมของเกาหลี และแม้ว่าจะเอาชนะสิ่งเหล่านั้นได้ มันก็อาจมีราคาแพงเกินไป และมีปัจจัยที่ซับซ้อนหลายอย่าง เช่น ต้นทุนทางสังคม และสตรีคลอดบุตร ดังนั้นตัวเขาคิดว่าต้นทุนที่ต้องการจะสูงกว่ากำไรที่แท้จริงมาก และหากการดึงดูดอาสามาครผู้หญฺงเข้าร่วมกองทัพสามารถทำได้ หากค่าจ้างน่าดึงดูดมากพอ

ในส่วนของกระทรวงกลาโหมกล่าวว่าการเพิ่มจำนวนผู้หญิงที่รับใช้นั้นมีความเป็นไปได้นอกเหนือจากแนวคิดอื่นๆ

แต่ไม่มีกำหนดเวลาในการเปลี่ยนแปลง และเวลาอาจเป็นสิ่งที่เกาหลีใต้มีไม่มากนัก

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สถิติเกาหลีรายงานว่าอัตราการเกิดที่ต่ำเป็นประวัติการณ์คาดว่าจะลดลงอีกในอีกสองปีข้างหน้า โดยอยู่ที่ 0.65 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคนในปี 2025

You May Also Like

More From Author