เลือกตั้ง 2566 – ตั้งแต่ยุบสภาพรรคไหนใช้โซเชียลสื่อสารกับประชาชนมากสุด –

“การหาเสียง” ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เพราะพรรคการเมืองต่าง ๆ จะต้องพยายามสื่อสาร โน้มน้าว ดึงดูดใจประชาชนให้เลือกพวกตนให้ได้ ซึ่งแต่ละพรรคก็ต้องงัดสารพัดกลยุทธ์ไม้เด็ดมาใช้เพื่อครองใจประชาชน

อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่า นอกจากการลงพื้นที่หาเสียงพบปะพี่น้องประชาชนแบบ Face to Face แล้ว อีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่มีผลไม่น้อยต่อการหาเสียง ก็คือ “สื่อโซเชียลมีเดีย” โดยเฉพาะในการเจาะกลุ่มตลาดคนรุ่นใหม่

เลือกตั้ง 2566 : "อุ๊งอิ๊งค์" วิดีโอคอลจาก รพ. อ้อนชาวเชียงใหม่ เลือกเพื่อไทยยกจังหวัด

เลือกตั้ง 2566 : "พีระพันธุ์" ให้ปชช.เลือก บัตรคนจน VS เงินดิจิทัล

เลือกตั้ง 2566 : "ธนกร" เผย บิ๊กเซอร์ไพรส์ "ลุงตู่" ร่วมเวทีดีเบตโค้งสุดท้ายหาเสียงเลือกตั้ง

จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า แต่ละพรรคการเมืองหลัก ๆ มีความเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดียกันมากน้อยแค่ไหน และได้เสียงตอบรับอย่างไรบ้างจากประชาชน

PPTV ร่วมกับ WISESIGHT หรือ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด ได้รวบรวมข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการของแต่ละพรรค ไม่นับเพจของผู้สมัครรายบุคคล เพื่อดูว่า ในช่วงที่ผ่านมา พรรคการเมืองใดสื่อสารกับประชาชนผ่านเฟซบุ๊กมากที่สุด โดยที่เลือกเฉพาะเฟซบุ๊ก เพราะยังคงเป็นโซเชียลมีเดียหลักที่มีผู้ใช้จำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วมกับความเคลื่อนไหวของแต่ละพรรค

ซึ่งข้อมูลที่นับตั้งแต่วันที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภา เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 จนถึงวันที่ 10 เม.ย. 2566 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่มีการสมัคร-จับเบอร์ประจำพรรคและผู้สมัคร ที่เพิ่งสิ้นสุดไปเมื่อ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา

จากการเก็บข้อมูลพบว่า พรรคการเมืองที่สื่อสารกับพี่น้องประชาชนผ่านเฟซบุ๊กมากที่สุด คือ พรรคเพื่อไทย โดยระยะเวลาแค่ราว 20 วัน โพสต์ข้อความไปแล้วถึง 1,463 ข้อความ เฉลี่ยวันละมากกว่า 70 ข้อความ

โดยโพสต์หรือคอนเทนต์ของพรรคเพื่อไทยที่มีผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วม หรือเอนเกจเมนต์ (Engagement) มากที่สุดคือ โพสต์โปรโมตงาน คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน ตอน ‘ONE TEAM FOR ALL THAIS : หนึ่งทีม เพื่อไทยทุกคนโดยมีไฮไลต์คือ เตรียมพบกับ 3 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย!

โพสต์ดังกล่าวนี้มีคนเข้ามากดแสดงความรู้สึกถึง 56,000 ครั้ง ความคิดเห็นกว่า 2,000 รายการ และแชร์อีกมากกว่า 260 ครั้ง ซึ่งความเห็นส่วนใหญ่มาจากผู้ที่สนับสนุนพรรค และมีความเห็นในทำนองจะเลือกเพื่อไทย

อันดับที่ 2 คือพรรคตัวแทนคนรุ่นใหม่อย่าง พรรคก้าวไกล ซึ่งไม่พลาดที่จะใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารความตั้งใจ โดยโพสต์ถึง 1,199 ข้อความ

โพสต์ของก้าวไกลที่มีคนเข้ามีส่วนร่วมมากที่สุด เป็นคลิปสั้น เกียรติยศของนักการเมือง คือการได้รับแต่งตั้งโดยประชาชนซึ่งรวมไฮไลต์จากงานดีเบต “อนาคตประเทศไทย #นับถอยหลังวันพิพากษา”

คลิปดังกล่าวเป็นช็อตเด็ดที่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ฟาดเดือดกลางเวทีดีเบตกับ "สุชาติ ชมกลิ่น" รมว.แรงงาน และกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ พรรครวมไทยสร้างชาติ

โดยคลิปนี้มีผู้เข้ามาแสดงความรู้สึกสูงถึง 140,000 ครั้ง ความคิดเห็นอีก 14,000 รายการ และยอดดูอีกกว่า 1.4 ล้านครั้ง

ตามมาติด ๆ ในอันดับ 3 กับพรรคที่แม้จะเก่าแก่ที่สุด แต่ก็ไม่ขอตกยุคไปกับกาลเวลาอย่าง พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์คอนเทนต์อยู่ที่ 1,011 ข้อความ

คอนเทนต์ที่ประชาธิปัตย์ได้เอนเกจเมนต์สูงสุดถือว่ามีความแตกต่างจากพรรคอื่น ๆ เพราะเป็นคอนเทนต์ สาร หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เนื่องในโอกาสต้อนรับเดือนรอมฎอน ประจำปี พ.ศ.2566

คอนเทนต์นี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดี มีคนเข้ามาแสดงความรู้สึกกว่า6,400 ครั้ง คอมเมนต์ 522 รายการ และแชร์ไปอีก 175 ครั้ง

เป็นที่น่าสนใจ โพสต์นี้เป็นการสื่อสารถึงชาวมุสลิม ซึ่งมีจำนวนประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคทางตอนใต้ของไทย ซึ่งเคยเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์มาตั้งแต่อดีต

อันดับที่ 4 เป็นของ พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี มีการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กทั้งสิ้น 709 ข้อความ

โพสต์ที่มีคนให้ความสนใจสูงสุดของพรรครวมไทยสร้างชาติคือ ไลฟ์สดความยาว 3 ชั่วโมง การปราศรัยหาเสียงครั้งแรกในกรุงเทพมหานครของพรรครวมไทยสร้างชาติซึ่ง "บิ๊กตู่" นำทัพปราศรัยหาเสียงครั้งแรก ณ ลานอัฒจันทร์กลางแจ้งสวนเบญจกิติ

ไลฟ์นี้มีคนกดแสดงความรู้สึก ราว 8,800 ครั้ง แสดงความเห็น 11,000 ครั้ง และยอดรับชมกว่า 110,000 ครั้ง

ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีผู้สนับสนุนพรรครวมไทยสร้างชาตจำนวนมากที่ต้องการไปฟังการปราศรัยและหาเสียงของพล.อ.ประยุทธ์ แต่อาจจะไม่สะดวกไปสถานที่จัดงานหรืออยู่ต่างจังหวัด ความคิดเห็นส่วนใหญ่ยังเน้นว่าจะเลือกเบอร์ 22 ของพรรคอย่างแน่นอน และมีบ้างที่ขอให้มีการปราศรัยในพื้นที่อื่นรวมถึงต่างจังหวัดด้วย

ต่อกันที่อันดับที่ 5 คือ พรรคภูมิใจไทย โพสต์คอนเทนต์ไป 465 ข้อความ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือคอนเทนต์ประกาศชัยชนะเหนือ "ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์" ซึ่งตั้งตนเป็นคู่ขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา

คอนเทนต์ดังกล่าวนี้เป็นคลิปสั้น “ชัยชนะ ภท. ! ศุภชัย เผย ศาลห้าม "ชูวิทย์" กล่าวหรือแสดงการกระทําด้วยวิธีใดๆ เรื่องกัญชาที่เกี่ยวข้องพรรคภูมิใจไทยอีก” จากรณีที่ ศุภชัย ใจสมุทร กรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย ออกมาเปิดเผยว่า ศาลมีคําสั่งห้ามนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ กล่าว หรือแสดงการกระทําด้วยวิธีใด ๆ เฉพาะเรื่องกัญชาที่เกี่ยวข้องกับพรรคภูมิใจไทย ในระหว่างพิจารณาคดีที่พรรคภูมิใจไทย ฟ้อง จนกว่าจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน เสียหายที่พรรคภูมิใจไทย อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของนายชูวิทย์

แม้ว่าในเวลาต่อมาศาลเเพ่งจะยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ส่งผลให้ "ชูวิทย์" กลับมาพูดเรื่องกัญชาได้ตามปกติ

และในอันดับที่ 6 คือ พรรคพลังประชารัฐ ของ พล.อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ ซึ่งที่ผ่านมาพยายามนำเสนอผลงานที่ต้องการสื่อสารและเข้าใจคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัวที่จัดจ้านตามแฟชั่นคนรุ่นใหม่ หรือการพูดคุยกับ "มายด์-ภัสราวลี" เพื่อแสดงถึงความเปิดกว้างของตัว "บิ๊กป้อม" และพรรค

แต่ในแง่ของการสื่อสารกับประชาชนผ่านแพลตฟอร์มที่คนรุ่นใหม่ใช้อย่างเฟซบุ๊กของพลังประชารัฐนั้นถือว่าน้อยกว่าพรรคใหญ่อื่น ๆ โดยอยู่ที่ 382 ข้อความ และโพสต์ที่ได้รับเอนเกจเมนต์สูงสุด เป็นไลฟ์สดความยาวเกือบ 2 ชั่วโมง งานเปิดตัว ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ 400 เขต

อย่างไรก็ตาม การที่พรรคใดมีการสื่อสารผ่านโซเชียลมากกว่าพรรคอื่น หรือมียอดกดไลก์กดเลิฟมากกว่าพรรคอื่น ก็ไม่ได้สามารถบอกได้ว่า พรรคนั้นจะประสบชัยชนะหรือไม่ในการเลือกตั้ง 2566 ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 14 พ.ค. 2566 นี้

ขณะเดียวกัน ข้อมูลทั้งหมดของ บริษัทไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ไม่ใช่โพลหรือการชี้วัดความนิยมใดๆ ทางการเมือง แต่เป็นเพียงการเก็บข้อมูลจากข้อความที่มีการกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ในโซเชียลมีเดียเท่านั้น

แต่เป็นที่น่าสนใจและต้องจับตาดูว่า ผลการเลือกตั้ง 2566 จะออกมาแปรผันตามแรงสนับสนุนในโซเชียลมีเดียหรือไม่ หรือการหาเสียงแบบออนไซต์ลงพื้นที่ สุดท้ายจะคงความคลาสสิกและมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งของประชาชนมากกว่า ร่วมกันติดตามข่าวสารการเลือกตั้งกันอย่างใกล้ชิดได้ที่ PPTVHD ช่อง 36 ในทุกช่องทางคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 เลือกตั้ง 2566 - ตั้งแต่ยุบสภาพรรคไหนใช้โซเชียลสื่อสารกับประชาชนมากสุด -

You May Also Like

More From Author